มาเตรียมตัวก่อนไปคุยกับ Migration Agent กันครับ
- namchasang .
- Jan 6
- 2 min read

คนถามมาเยอะเหมือนกันครับว่าไปคุยกับ Migration agent มาเดือนก่อนแล้วเป็นยังไงบ้าง ... ถ้าเป็นเรื่องคำแนะนำด้าน migration ที่ Australia มันมีกฎหมายอยู่ว่าคนที่จะมาให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำด้านการโยกย้ายต้องได้รับอนุญาติจากออสเตรเลีย มี MARN (Migration Agent Registration Number) ที่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นก็จะรู้กันครับว่า ถ้าให้แอดแนะนำว่าต้องทำไงเรื่องการวางแผนต่างๆ หรืออันนู้นดีไม๊ แบบนี้เป็นยังไง แอดจะไม่พูดใน post เลย จะพูดถึงแค่เรื่องของการเรียน เรื่องสถาบันการศึกษา เต็มที่ก็แปลประกาศข่าวสารต่างๆ ให้ link ข้อมูลต่างๆที่รัฐบาลประกาศบน website จำกัดไว้เพียงเท่านี้
อย่าง migration agent คนไทยที่เราเห็นกันตาม page ตาม group ต่างๆ ก็จะมีอยู่ประมาณ 5-10 เจ้า แต่ละคนก็จะมีสไตล์ มี area ที่เชี่ยวชาญแตกต่างกันไป บางที่เป็น migration agent อย่างเดียว บางที่เป็นทั้ง education agent และมี migration agent อยู่ในที่เดียวกันด้วย ทั้ง Ed, J M, Li, Ra, St, U&
แต่ถ้าถามว่า ก่อนจะไปคุยกับ Migration agent ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เตรียมคำถามอะไรบ้าง อันนี้แอดพอแนะนำได้ครับ เพราะ consulting session นึงของ RMA นั้นราคาจะอยู่ประมาณ $100-$300 ซึ่งก็ถือว่าไม่น้อยสำหรับหลายๆ คนครับ ดังนั้นช่วงเวลาที่เราได้มา 40-60 นาทีนี้ เราควรเตรียมตัว เตรียมคำถามไปตั้งแต่เนิ่นๆ เรื่องอะไรที่อยากรู้ เขียน list ไว้ ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเป็นลำดับชัดเจนไว้เลยครับ หรือจะทำเป็น flowchart แบบแอดก็ได้นะ
อย่างของแอดคนยื่นคือแอดแม่ มี 2 แผนหลักๆ ที่เราเอาไปใช้คุยกับ agent อันแรกคือ อาชีพ TESOL teacher ที่กำลังศึกษาอยู่ อันที่สองคืออาชีพในตำแหน่ง marketing manager ที่เคยทำมาตั้งแต่สมัยอยู่ไทย ข้อดีของการทำแบบนี้คือ เราจะเห็นกิจกรรมที่เราต้องทำ ในแต่ละช่วงเวลาและในแต่ละปีได้ชัดเจนมาก พอเราทำไป ตรงไหนที่เรางง ลังเล ตรงนั้นแหละครับคือคำถามที่เราเก็บไว้หาคำตอบกับ agent ได้
คำถามหลักๆ อาจแบ่งได้เป็น
1) ถ้าจะยื่นอาชีพตามวุฒิที่เรามาเรียนต่อที่ Australia
- อาชีพเราต้องใช้ skill assessment ไม๊?
- การนับประสบการณ์ทำงาน ก่อนที่จะยื่น skill assessment
- รัฐที่เราสามารถยื่นอาชีพนี้ได้ รัฐไหนโอกาสดีที่สุด ระบบ point test ต่างๆ
- การขอ sponsored visa และการเก็บชั่วโมงทำงาน
- การขอ 186 / 494 แตกต่างกันอย่างไร
- ลองไล่ timeline ของแผนเรา ให้ agent ปรับให้ว่ามีตรงไหนผิดพลาดไม๊
2) อันนี้เป็นอาชีพที่ทำมาที่ไทย แต่ก็จะยื่นด้วยเผื่อเป็นก๊อกสอง
- มีประสบการณ์ที่ไทยมา สามารถหา sponsored visa ได้ไม๊
- อาชีพเราต้องทำ skill assessment ก่อนขอ sponsor ไม๊
- ถ้าจะสมัคร skill migration อาชีพนี้ แต่ละรัฐมีข้อกำหนดต่างกันไม๊ รัฐไหนง่ายสุด
- การขอ 186 / 494 แตกต่างกันอย่างไร การเก็บชั่วโมงทำงานต้องทำอย่างไร
- ลองไล่ timeline ของแผนเรา ให้ agent ปรับให้ว่ามีตรงไหนผิดพลาดไม๊
จาก chart จะเห็นว่า อาชีพ #1 จะสามารถยื่น skill migration ได้ก่อนอาชีพ #2 เหตุผลคือ ตัวอาชีพใช้จำนวนปีประสบการณ์น้อยกว่าในการทำ skill assessment เพราะ TESOL ใช้ 1 ปี full-time ส่วนตำแหน่ง manager ต้องใช้ 5 ปี full-time ซึ่งมีไม่ถึง ถ้าอยากยื่นจริงๆ ก็ต้องมาหา sponsor ที่ออสฯ เพื่อเก็บประสบการณ์เพิ่มอีก 1 ปี
ส่วนเรื่องของ sponsor ตั้งใจไว้ว่าจะเริ่มหาประมาณเทอมสุดท้ายก่อนเรียนจบ และถ้าสามารถหาได้แล้ว ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าแอดจะหาได้ที่เมืองไหน เป็น big city หรือ regional area ซึ่งก็จะมี criteria ไม่เหมือนกัน มี visa pathway ไม่เหมือนกัน ก็ต้องลองวาด timeline ออกมาคร่าวๆ แล้วไว้ไปปรึกษาใน session ดูครับ
-----
ส่วนที่ยากที่สุดไม่ใช่เรื่องของการเตรียมความพร้อมเพื่อหา sponsor หรือทำ skill assessment ครับ แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือการหา visa ที่ทำให้เราสามารถเก็บประสบการณ์ในอาชีพเพิ่ม มีเวลาเตรียมเอกสาร จัดการเรื่องการยื่นเรื่องต่างๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งเดิมนั้น Temporary Graduate Visa (TGV) หรือ visa 485 มันมีไว้ทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ แต่พอบ้านนี้อายุเกิน 485 ก็ขอไม่ได้แล้ว ก็มีอีกหนทางให้ไปคือการเลือกไปเรียนสาย research ไปเลย ซึ่งก็คือการต่อปริญญาเอกที่ทำให้สามารถทำงาน fulltime กันได้ทั้งผู้เรียนหลักและผู้ติดตาม รวมถึงลูกเจ้าตัวเล็กก็ได้เรียนฟรีได้ ส่ง childcare 5 วันจุกๆ แบบสบายกระเป๋าได้เลย
แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเรียนปริญญาเอกได้ครับ และแอดเชื่อว่าถ้าถึงเวลาจริงๆ คนเดียวมันไม่ไหวหรอก เรื่องแบบนี้ต้องอาศัย teamwork ใครช่วยตรงไหนได้ก็แบ่งเบาก็บรรเทากันไป ต่างคนต่างมีบทบาทไม่เหมือนกันก็จริง แต่พอเรามีเป้าหมายเดียวกันมันก็มีทางให้เราเดินอย่างเดียวคือการก้าวไปข้างหน้าแล้วจัดการกับทุกอุปสรรคที่เขามาให้ราบคาบ
แอดวางแผนเรื่องพวกนี้มาตั้งแต่อยู่ไทย ก่อนที่จะย้ายมาออสเตรเลียในปี 2023 อีกครับ แต่อย่างที่รู้กันครับว่าช่วงเปลี่ยนรัฐบาลจากซ้ายไปขวาก็จะมีอาการงงๆ แบบนี้ล่ะ นโยบายเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แผนที่ทำไว้ก็ต้องคอยปรับอยู่เรื่อยๆ คอยเชค คอยหาทางออกที่มันไม่เหนื่อยกันเกินไปและไม่เสี่ยงมากจนเกินไป
40 นาทีของ session ปรึกษาแอดว่าแอดบริหารเวลาได้ดีครับ คิดถูกที่ทำ action plan มาไว้คุยเลย เราเตรียมคำถามไปสำหรับ pathway ต่างๆ ถึง 2 อาชีพ รวมๆ แล้วคำถามก็ไม่น้อยครับ แถมพอได้ปรึกษาแล้ว เราได้ pathway ที่ 3 ของสาย University lecturer หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยมาด้วย ซึ่งก็ดูแล้วยากมาก ดูไกลตัวมากๆ แต่ถ้าในอนาคตเรามุ่งไปในทาง PhD จริงๆ การไปตาม plan #3 หรือ pathway ของ Uni lecturer จริงๆ ก็ดูเป็นอีกทางที่น่าจะเป็นไปได้ไม่ต่างจากทั้ง TESOL Teacher และ Marketing Manager เหมือนกันครับ
สินค้าใช้ดีโปรดบอกต่อ...เพื่อนๆ น่าจะรู้กันแล้วเนาะว่าแอดไปปรึกษากับใครมา
ลองไปฝึกวาดแผนเส้นทางชีวิตกันดูนะครับ และขอให้หาทางออกให้กับตัวเองกันได้ทุกๆ คนครับผม